การวางแผนประกันสุขภาพ

การวางแผนประกันสุขภาพ

การวางแผนประกันสุขภาพ




เราวางแผนประกันสุขภาพอย่างไร? ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบไหน? จะเน้น IPD  OPD โรคร้าย หรือมะเร็งดี? รัฐบาลอนุญาตให้นำเบี้ยประกันสุขภาพ หรือ อุบัติเหตุ ที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท หลายท่านที่ไม่เคยมีประกันสุขภาพก็คิดจะทำประกันสุขภาพ เพื่อมาลดหย่อนภาษี  แต่ความจริงแล้วประกันสุขภาพเป็นการป้องกันความเสี่ยงแบบหนึ่งนะคะ



การลดหย่อนภาษีด้วยประกันสุขภาพ


เบี้ยประกันสุขภาพที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีจะมีทั้งสิ้น 2 ประเภทด้วยกัน คือ 

1. เบี้ยประกันสุขภาพที่เราซื้อให้กับตัวเอง 
2. เบี้ยประกันสุขภาพที่เราซื้อให้กับบิดามารดา 

โดยเบี้ยประกันสุขภาพในที่นี้จะหมายรวมถึง การประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก การประกันภัยโรคร้ายแรงและการประกันภัยการดูแลระยะยาว

สำหรับในส่วนเบี้ยประกันสุขภาพของตัวเราเองนั้น เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปีและเมื่อนำไปรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ในขณะที่เบี้ยประกันสุขภาพที่เราซื้อให้พ่อแม่ สามารถนำไปลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมกันสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่า พ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี จึงจะสามารถใช้สิทธินำเบี้ยประกันสุขภาพส่วนนี้มาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำเบี้ยประกันพ่อแม่นี้มาหารเฉลี่ยแบ่งให้ลูกแต่ละคนเพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของตัวเองได้อีกด้วย

 

การวางแผนประกันสุขภาพ ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด ถ้าเรามีที่ปรึกษาที่ดี 


1. สำรวจสวัสดิการที่มีอยู่ว่ามีอะไรบ้าง เช่น สวัสดิการจากที่ทำงาน ประกันสุขภาพส่วนบุคคล ประกันสังคม หรือ บัตรทอง

2. วงเงินความคุ้มครองที่มี เพียงพอต่อความจำเป็นในการรักษาในปัจจุบันหรือเปล่า เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีอัตราเพิ่มขึ้นปีละ 7-10% วงเงินที่มีอยู่ยังเพียงพออยู่ไหม ถ้ามีส่วนต่างค่ารักษาเกิดขึ้น เรามีความสามารถในการจ่ายหรือไม่ ?

3. สวัสดิการที่เราได้มาจากที่ทำงานคุ้มครองเราไปถึงอายุเท่าไหร่ เช่น ประกันสังคม ประกันกลุ่ม หรือ ได้รับพ่วงกับคนในครอบครัว หากต้องเปลี่ยนงาน หรือ เกษียณอายุไป สวัสดิการที่มีจะจบลง เราวางแผนอย่างไรหลังจากนั้น 

4. ความพึงพอใจรูปแบบการใช้บริการโรงพยาบาลจากสวัสดิการที่เรามี ความสะดวกสบายในการเข้ารับการรักษา ความสะดวกในการเดินทาง การรอคิวรักษา ฯลฯ 

5. หากต้องการซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคล สุขภาพของเราต้องแข็งแรง ไม่มีตรวจพบโรคใดๆ ก่อนทำประกันจึงจะได้รับความคุ้มครองครบถ้วน ไม่มีข้อยกเว้นความคุ้มครอง ถูกเพิ่มเบี้ย หรือ ปฏิเสธการรับประกัน 

6. หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องเข้ารับการรักษาด่วน แต่ไม่เข้าข่ายสิทธิ์ UCEP รักษาฟรี 72 ชม.แรกที่รัฐคุ้มครองค่าใช้จ่าย แล้วเราต้องเข้า รพ.เอกชนที่ใกล้ที่สุด ก่อนจะย้ายไปรักษา รพ.ที่เราเบิกค่ารักษาได้ ค่าใช้จ่ายส่วนแรกนี้ คิดว่าประมาณเท่าไหร่ และเราได้สำรองเงินเตรียมไว้หรือยัง

7. ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรง ที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก มีผลกระทบต่อฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ดังที่เราเคยได้ยินว่า มีบ้านขายบ้าน มีรถขายรถ ต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่ารักษา ท่านคิดอย่างไร หากโชคร้ายนี้เกิดกับเราหรือคนในครอบครัวของเรา


 

การเลือกซื้อประกันสุขภาพ

หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ ควรเริ่มจากการพิจารณารูปแบบความคุ้มครอง ซึ่งมักแบ่งได้สองรูปแบบ คือ  

- ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา ซึ่งบริษัทประกันจะระบุรายการค่ารักษาพยาบาลต่างๆ กับวงเงินคุ้มครองสูงสุดเฉพาะรายการนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน เช่น ค่าห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด 7,000 บาทต่อครั้ง ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา 5,000 บาทต่อครั้ง เป็นต้น

- ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายตามจริง ซึ่งเราสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริงภายใต้วงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อปี เช่น วงเงินเหมาจ่าย 10 ล้านบาท แต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดต่อปี โดยอาจจะมีเฉพาะบางรายการที่ยังคงมีการกำหนดวงเงินสูงสุดไว้ เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลประจำวันและค่าห้องผู้ป่วยหนัก เป็นต้น ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่ผู้เอาประกันจำเป็นต้องพิจารณาก็คือ วงเงินความคุ้มครองเหล่านี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของเราหรือไม่

 
ตัวแทนมืออาชีพ


ประกันสุขภาพค่อนข้างมีเนื้อหาสัญญาที่มีรายละเอียดมาก หลายคน ไปทำประกันสุขภาพกับ  Call Center พอถึงแล้วเข้าโรคพยาบาลและต้อง Claim ค่ารักษา อาจจะไม่ค่อยสะดวก  ถ้ามีตัวแทนช่วยก็จะทำให้สะดวกมากขึ้น 

ดังนั้น ตัวแทนมืออาชีพ จึงเป็น Factor ที่ไม่ควรมองข้าม ยกเว้นจะเป็นคนชอบ Do it yourself. ตัวแทนมืออาชีพ ควรจะ full time หรือ ทำงานเต็มเวลา มีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน ประกันทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสินทรัพย์ และ ประกันสุขภาพ เป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยง ที่จะช่วยให้วางแผนการเงินของเรามั่นคงขึ้นพร้อมจะเผชิญเหตุการณ์ร้ายๆ โดยไม่ต้องกังวล

Shared :