เริ่มต้นวางแผนมรดก

เริ่มต้นวางแผนมรดก

March 28 ,2022

เริ่มต้นวางแผนมรดก


ในวันที่คุณจากไป... เมื่อคุณไม่อยู่แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ที่ดิน พอร์ตการลงทุน หรือธุรกิจ ที่คุณได้สั่งสมมาตลอดทั้งชีวิต ย่อมจะต้องถูกเปลี่ยนความเป็นเจ้าของไป
 



ถ้าหากคุณไม่ได้มีการเตรียมการใดๆ เลย !!! จะเกิดอะไรขึ้น
 
กระบวนการตามปกติที่จะเกิดขึ้น คือ ทายาทของคุณจะต้องไปดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดก จากนั้นผู้จัดการมรดก จึงจะมีอำนาจ ที่จะไปดำเนินการจัดสรร ทำเรื่องโอนทรัพย์สินต่างๆ ให้เป็นของทายาทโดยธรรม ตามลำดับ
 
กระบวนการตามปกตินี้ อาจจะเป็นต้นตอของปัญหา ความยุ่งยากไม่รู้จบได้ 
เริ่มตั้งแต่… การแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดก
หรือ มีผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติหน้าที่โอนทรัพย์สินให้เสร็จโดยเร็ว ทำให้ไม่มีใครใช้ทรัพย์สินนั้นได้
หรือ ผู้จัดการมรดก จัดสรรทรัพย์สินให้ทายาท ไม่ถูกต้องยุติธรรมตามลำดับทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
 
และยังมีปัญหาที่ว่า ทายาทผู้ที่จะได้รับทรัพย์สินของคุณนั้น เค้าใช่คนที่คุณต้องการจะให้หรือเปล่า  
 
มาลองดูกันครับ

 


ลำดับทายาทโดยธรรม


กรณีไม่มีพินัยกรรม ลำดับทายาทโดยธรรม ที่จะได้รับทรัพย์สินของคุณ มี 6 ชั้น (ถ้าตกชั้นใดแล้ว ชั้นถัดไปจะไม่ได้)

1.มี ผู้สืบสันดาน/บุตรบุญธรรม :
แบ่งให้ ผู้สืบสันดาน/บุตรบุญธรรม พ่อ แม่ คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่คนละเท่าๆ กัน

2.มี พ่อ แม่ :
แบ่งให้คู่สมรส 50% (ถ้ามี) ที่เหลือแบ่งให้พ่อแม่ ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่าๆ กัน

3.มี พี่น้อง พ่อแม่เดียวกัน :
แบ่งให้คู่สมรส 50% (ถ้ามี) ที่เหลือแบ่งให้พี่น้อง เท่าๆ กัน (ถ้าพี่น้องคนใดเสียชีวิตแล้วให้ทายาทมารับแทน)

4.มี พี่น้อง คนละพ่อ หรือ คนละแม่ :
แบ่งให้คู่สมรส 2 ใน 3 ส่วน (ถ้ามี) ที่เหลือแบ่งให้พี่น้อง เท่าๆ กัน (ถ้าพี่น้องคนใดเสียชีวิตแล้วให้ทายาทมารับแทน)

5.มี ปู่ ย่า ตา ยาย :
แบ่งให้คู่สมรส 2 ใน 3 ส่วน (ถ้ามี) ที่เหลือแบ่งให้ ปู่ ย่า ตา ยาย ยังมีชีวิตอยู่คนละเท่าๆ กัน

6.มี ลุง ป้า น้า อา :
แบ่งให้คู่สมรส 2 ใน 3 ส่วน (ถ้ามี) ที่เหลือแบ่งให้ ลุง ป้า น้า อา เท่าๆ กัน (ถ้าลุงป้าน้าอา คนใดเสียชีวิตแล้วให้ทายาทมารับแทน)


 
ถ้าคุณมีคู่สมรส มีลูก 2 คน มีคุณพ่อคุณแม่ที่ยังแข็งแรงอยู่ .... และคุณมีมรดกเป็นที่ดิน
ทุกคนจะได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน การจะให้เช่า ก็มีปัญหาเรื่องภาษี !!
และหากทุกคนพร้อมใจกันอยากขายที่ผืนนี้ ยกเว้นแค่ใครเพียงคนเดียว ... ก็จะทะเลาะกันแล้วครับ
 
หรือ หุ้นในกิจการที่คุณสร้างขึ้นมา หากแบ่งให้ทายาท 2 คน เท่าๆ กัน แล้วมีปัญหาที่ต้องตัดสินด้วยเสียงข้างมาก แต่ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีใครยอมใคร ....
 
หรือ สมมตินะครับ สมมติ
สมมติ ว่าคุณไม่มีลูก คุณพ่อคุณแม่เสียหมดแล้ว คุณเป็นลูกคนเดียว ที่คุณตาของคุณเลี้ยงมา แต่คุณบังเอิญ มีน้องคนละแม่อยู่อีกหนึ่งคน
ดูจากลำดับชั้นทายาทแล้ว น้องคนละแม่ของคุณจะเป็นผู้ได้รับมรดกทั้งหมดไปครับ ไม่ใช่คุณตาที่เลี้ยงดูคุณมา
 
เมื่อมีความไม่พอใจ ก็ย่อมนำไปสู่การฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล ... บานปลายไปจนถึงขั้น พี่น้องฆ่ากันเอง ก็มีให้เห็นอยู๋หลายๆ กรณี
 
คุณคงไม่อยากเป็นต้นเหตุของปัญหาในตระกูล เพียงเพราะแค่การละเลย ไม่วางแผนมรดกให้เรียบร้อยใช่มั๊ยครับ

 

เรามา เริ่มต้นวางแผนมรดก กันครับ
 
ขั้นตอนการวางแผนมรดก มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
2.กำหนดว่า ทรัพย์สินใด จะให้ใคร
3.จัดทำพินัยกรรม
4.เก็บรักษาพินัยกรรม
5.ปรับปรุงพินัยกรรม
 
 
ขั้นตอนที่ 1 : จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน

คุณมีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง แนะนำให้ลิสต์รายการเป็นหมวดหมู่ ประมาณมูลค่าเท่าที่จะประเมินได้

A.เงินฝาก : ธนาคารอะไร เลขที่บัญชีอะไรบ้าง
B.หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ : บริษัทหลักทรัพย์ที่คุณเปิดพอร์ตด้วย เลขที่บัญชีอะไรบ้าง
C.หุ้นบริษัทจำกัด : บริษัทอะไร จำนวนหุ้นเท่าใด ประมาณมูลค่าหุ้น หรือเงินลงทุน
D.กองทุนรวม : บริษัทที่คุณเปิดพอร์ตด้วย เลขที่บัญชีอะไรบ้าง ชื่อกองทุนที่ถือ
E.บ้าน ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ : โฉนดเลขที่
F.รถยนต์ : ยี่ห้อ รุ่น หมายเลขทะเบียน
G.สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ : หุ้นกู้ สัญญาเงินกู้ สัญญาจำนอง ฯลฯ
H.ทอง
I.ของสะสม : นาฬิกา กระเป๋า งานศิลปะ พระเครื่อง วัตถุโบราณ ฯลฯ

พยายามระบุให้ได้ละเอียดที่สุดนะครับ
หรือหากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ทาง FTA เรามีทีมที่ปรึกษายินดีบริการ ครับ

 
 
ไว้เรามาต่อกัน
ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดว่า ทรัพย์สินใด จะให้ใคร
ในตอนหน้านะครับ
 

Shared :