ได้เป็น " ผู้ลงทุนรายใหญ่ ดีอย่างไร? "

ได้เป็น " ผู้ลงทุนรายใหญ่ ดีอย่างไร? "

September 30 ,2022



ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้แบ่งประเภทผู้ลงทุน เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้ลงทุนสถาบัน
2. ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
3. ผู้ลงทุนรายใหญ่
4. ผู้ลงทุนรายย่อย

สำหรับ ข้อ 1. ไม่เกี่ยวกับพวกเรา เพราะคือพวกบริษัทธนาคาร บล.กองทุนรวม บ.ประกันทั้งหลาย
ส่วน ข้อ 2. ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และ ข้อ 3. ผู้ลงทุนรายใหญ่ คือ ผู้ลงทุนที่ต้องมีฐานะทางการเงิน และคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด

การเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ จะมีสิทธิ ในการซื้อสินค้าทางการเงินที่มีความเสี่ยงและความซับซ้อนได้มากกว่าผู้ลงทุนรายย่อย เช่น พวกหุ้นกู้ที่มี Credit Rating ต่ำกว่า BBB+
เพราะมองว่าการที่ผู้ลงทุนมีฐานะในระดับที่ผ่านเกณฑ์นี้ จะมีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้สูง ซื่งแน่นอนว่าเมื่อมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ได้ก็ย่อมจะต้องสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ในวันที่ 1 ตุลาคมที่จะถึงนี้ ก.ล.ต. จะมีการเริ่มใช้กฎเกณฑ์ใหม่ที่ปรับลดเงื่อนไขด้านฐานะการเงินของนักลงทุนรายใหญ่ลง เเต่เพิ่มเงื่อนไขเรื่องความรู้ทางการเงินเข้าไปแทน
นั่นจะทำให้พวกเราที่รายได้เกือบๆมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เกือบๆจะเข้าเกณฑ์เดิมแล้ว ก็พอจะมีความรู้เรื่องการลงทุนอยู่ จะได้รับสิทธิการเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่กับเค้าบ้าง
เราก็มีโอกาสที่จะได้ลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เคย

การได้รับโอกาสเข้าถึงสินค้าลงทุนที่ผลตอบแทนสูงขึ้นได้ ย่อมเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่ลืมเรื่องความเสี่ยงที่ตามมา
และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การจัดสัดส่วนของประเภทสินทรัพย์ (Asset Allocation) ให้พอร์ตอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ต่อให้เราเป็นมนุษย์ Conservative รับความเสี่ยงได้ต่ำ เราก็ยังมีโควต้าในการเลือกสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ติดไว้ในพอร์ต 5% - 10% ก็ยังได้

หากคุณต้องการคำแนะนำเรื่องการลงทุน ปรึกษา FTA Consulting ได้ครับ เรายินดีให้บริการและคำแนะนำอย่างเต็มที่
#FTAConsulting
#วางแผนการลงุทน

Shared :