บริการยื่นประกันสังคม (รายเดือน)

บริการยื่นประกันสังคม (รายเดือน)

การนำส่งประกันสังคม


 
 
การนำส่งเงินสมทบมี 2 วิธีคือ
 
1. กรอกแบบฟอร์มด้วยตนเอง นำส่งเงินด้วยแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2)
โดยกรอกรายละเอียดในแบบ สปส.1-10 (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้อง และกรอกรายละเอียดในแบบ สปส.1-10 (ส่วนที่ 2) ประกอบด้วย
 
- เลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกให้ครอบถ้วนทุกราย
- ชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันตนพร้อมคำนำหน้าชื่อที่ชัดเจน
- ค่าจ้างให้กรอกค่าจ้างตามที่จ่ายจริงกรอกรายงานเงินสมทบที่นำส่ง
 
โดยคำนวณเงินสมทบค่าจ้างใน (3) หากได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท 
แต่ถ้าได้รับค่าจ้างเกิน 15,000 บาท โดยคูณกับอัตราเงินสมทบที่ต้องนำส่ง
สำหรับเศษของเงินสมทบที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าสิบสตางค์ขึ้นไปให้ปัดเป็หนึ่งบาท ถ้าน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง.
 
2. นำส่งเงินสมทบด้วยสื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยกรอกรายละเอียดในแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้องและจัดทำข้อมูลตามแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 2) ในสื่อข้อมูล (Diskette)  หรือส่งผ่านทาง Internet
 
ขอรับโปรแกรมหรือ Format ข้อมูลเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือ Download  ได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
กรณีสถานประกอบการมีสาขาและประสงค์ยื่นรวมให้จัดทำแบบ สปส. 1-10/1 ซึ่งเป็นใบสรุปรายกรแสดงการส่งเงินสมทบของแต่ละสาขาที่ยื่นพร้อมแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของแต่ละสาขา

นำส่งเงินสมทบ  สำหรับค่าจ้างประจำเดือนจะต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยนำส่งที่
> ธนาคารกรุงไทย
> ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ
> สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือชำระเงินสมทบด้วยระบบ e-payment ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
> ธนาคารซิตี้แบงค์ จำกัด (มหาชน)
> ธนาคารซูมิโตโมมิตซุย คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ
> ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด ที่บริการอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานประกันสังคม
       
 
กรณีนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้องครบถ้วน
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างกรอกแบบรายงานดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วน
หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมีความผิดฐานขัดคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         
หากนำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบนายจ้างจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่งหรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่ และจะต้องไปชำระที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น
 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและข้อควรรู้เกี่ยวกับกองทุนประกันสังคม

 
สิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม เช่น กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506


 


 

กองทุนประกันสังคม


นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างและนำส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมดถูกหักรวมกัน พร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต หรือส่งทางอินเตอร์เน็ต

โดยนำส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์
เป็นเงินสดหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือชำระเงินผ่าน
> ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ
> ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
> ธนาคารธนชาต สาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
 

กองทุนเงินทดแทน


กองทุนเงินทดแทนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนในการจ่ายเงินทดแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาผลประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือเจ็บป่วยเป็นโรค ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง

โดยให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนลูกจ้าง ซึ่งหมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

 
** นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน **


 


 
 



 
การเรียกเก็บเงินสมทบและการคำนวณเงินสมทบ
 
1. ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี
2. เงินสมทบให้คำนวณจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปี คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี
- กำหนดอัตราเงินสมทบตามความเสี่ยงภัยของกิจการของนายจ้าง
 - เมื่อชำระเงินสมทบติดต่อกัน 3 ปีที่ 4 จะคำนวณหาอัตราการสูญเสีย เพื่อหาค่าอัตราเงินสมทบตามประสบการณ์
  และนำมาเรียกเก็บในปีที่ 5 หากนายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทำงานจะได้รับการลดอัตราเงินสมทบ
  หากไม่ดูแลเรื่องความปลอดภัยจะต้องถูกต้องเพิ่มอัตราเงินสมทบ 
  การเพิ่มหรือลดจะคิดเพิ่มลดจากอัตราเงินสมทบหลักของนายจ้าง
 - นายจ้างที่ได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระเงินสมทบเป็นงวดจะต้องจ่ายเงินฝากไว้จำนวนร้อยละ 25 ของเงินสมทบโดยประมาณทั้งปีภายในเดือนมกราคม
   และจ่ายเงินสมทบเป็นรายงวด 4 งวด ภายในเดือนเมษายน กรกฎาคม ตุลาคม และมกราคมของปีถัดไป
 - ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีนายจ้างต้องแจ้งจำนวนค่าจ้างทั้งหมดของปีที่ล่วงมาแล้วที่จ่ายจริงให้แก่ลูกจ้างตามแบบที่กำหนด
  เพื่อคำนวณเงินสมทบที่ถูกต้องและนำส่งเงินสมทบที่ชำระต่ำไปภายในวันที่  31  มีนาคม ของทุกปี

 
เงินเพิ่ม: กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนด หรือจ่ายไม่ครบ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 3 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ค้างชำระ
 
การคืนเงินนายจ้าง: นายจ้างที่จ่ายเงินสมทบ หรือเงินเพิ่มเกินกว่าความเป็นจริงจากสาเหตุต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้นายจ้างทราบ เพื่อมารับเงินส่วนที่เกินคืนไป
 
เงินทดแทน: หมายถึง เงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทนการทำงาน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและค่าทำศพ โดยมี 4 ประเภท ได้แก่ 
1. ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกันเกิน 3 วัน จากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2. ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย.
3. ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ
4. ค่าทดแทนกรณีตายหรือสูญหาย

สิทธิได้รับเงินทดแทนภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
:
กรณีที่การเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้นายจ้างยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย 
นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ รวมทั้งการเปิดเผยข้อเท็จจริงของนายจ้างที่พึงสงวนไว้ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทนอาจมีโทษทั้งจำและปรับ
 
 

*** ศึกษาข้อมูลและข้อควรรู้เกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทน สิทธิประโยชน์ของกองทุนเงินทดแทน เช่น กรณีทุพพลภาพ เนื่องจากการทำงาน กรณีประสบอันตรายหรือเป็นโรคเนื่องจากการทำงาน 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 ***

Shared :